วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 


อิศรญาณภาษิต


https://sites.google.com/site/onlythai/_/rsrc/1296443085605/c5/61-300x216.jpg


ความเป็นมา
        
  อิศรญาณภาษิตเรียกอีกอย่างว่า เพลงยาวอิศรญาณเป็นพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ซึ่งเล่ากันว่าเป็นผู้มีพระจริตไม่ปกติ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทำสิ่งวิปริตไปแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรับริภาษว่าเป็นบ้า ทำให้ใครๆ ก็พากันเห็นด้วยกับพระราชดำรัสนั้น ด้วยความน้อยพระทัยของหม่อมเจ้าอิศรญาณจึงทรงนิพนธ์เพลงยาวฉบับนี้ขึ้น มีผู้สันนิษฐานว่าอิศรญาณภาษิตนี้ ไม่ใช่พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณแต่เพียงผู้เดียว หากแต่ทรงนิพนธ์ไว้เพียงตอนแรกเท่านั้น กล่าวคือ สันนิษฐานว่าทรงนิพนธ์ถึงวรรคว่า ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืนซึ่งมีลีลาการแต่งไว้ด้วยน้ำเสียงเหน็บแนมประชดประชันอย่างรุนแรง ชัดเจนส่วนที่เหลือเป็นของผู้อื่นแต่งต่อ โดยเป็นการสอนเรื่องทั่วๆ ไป มีลีลาหรือท่วงทำนองแบบเรียบๆ มุ่งสั่งสอนตามปกติของผู้มีประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ ซึง่งได้นำมาเรียบเรียงไว้ทั้งหมด

ประวัติผู้แต่ง
         
หม่อมเจ้าอิศรญาณ(ไม่ทราบพระนาม เดิม)เป็นโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ พระองค์ทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศ ได้พระนามฉายาว่า อิสสรญาโณ มีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะคำประพันธ์
          กลอนเพลงยาว ซึ่งขึ้นต้นด้วยวรรคสดับ(มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเพลงยาวอิศรญาณหรือภาษิตอิศรญาณ)

จุดประสงค์
๑. เพื่อสั่งสอน
๒. เพื่อเตือนใจให้คิดก่อนที่จะทำสิ่งใด
๓. สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

เนื้อหา
             
อิศรญาณภาษิตมีเนื้อหาที่เป็นคำสั่ง สอนแบบเตือนสติ และแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า สอนว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากภัยแก่ตน ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จสมหวังบางตอนก็เน้นเรื่องการเห็นคุณค่าและ ความสำคัญของผู้อื่นโดยไม่สบประมาทหรือดูแคลนกัน โดยทั้งนี้การสอนบางครั้งอาจเป็นการบอกตรงๆ หรือบางครั้งก็สอนโดยคำประชดประชันเหน็บแนม เนื้อหาส่วนใหญ่จะสั่งสอนให้คนมีปัญญา ไม่หลงใหลกับคำเยินยอ สอนให้รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด รู้จักเคารพผู้อาวุโส รู้จักทำตามที่ผู้ใหญ่แนะนำรู้จักกตัญญูผู้ใหญ่

คุณค่างานประพันธ์
    
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ มาเรียงร้อยได้เหมาะเจาะและมีความหมายลึกซึ้ง
    คุณค่าด้านสังคม ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตเพื่อดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


แบบฝึกหัด เรื่อง อิศรญาณภาษิต

1.ผู้แต่งเรื่อง  อิศรญาณภาษิต  คือ

2.ลักษณะคำประพันธ์

3.จุดประสงค์ในการแต่ง

4.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

5.คุณค่าด้านสังคม

6.ตำนาน หมายถึง

7. ศุภอรรถ  หมายถึง

8.สวัสดี  หมายถึง

เฉลยแบบฝึดหัด เรื่อง อิศรญาณภาษิต

1.หม่อมเจ้าอิศรญาณ
2.กลอนเพลงยาว ซึ่งขึ้นต้นด้วยวรรคสดับ
3.เพื่อสั่งสอน,เพื่อเตือนใจให้คิดก่อนที่จะทำสิ่งใด,สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
4.ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ มาเรียงร้อยได้เหมาะเจาะและมีความหมายลึกซึ้ง
5.ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตเพื่อดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
6.คำโบราณ
7.ถ้อยคำและความหมายที่ดี
8.ความดี ความงาม  

 

 


บทพากย์เอราวัญ

https://sites.google.com/site/onlythai/_/rsrc/1296442751051/c6/268_1212246109_jpg_212.jpg?height=334&width=235

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ที่มาของเรื่อง : ได้เค้าโครงเรื่องมาจาก รามายณะของอินเดีย

ความมุ่งหมาย : ให้เห็นโทษของความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสจะนำมาซึ่งความประมาทอันเป็นเหตุแห่งหายนะ เช่น พระลักษมณ์และไพร่พลวานรที่มัวแต่เพ่งดูเทวดา(แปลง) อย่างเพลิดเพลิน จนต้องศรของอินทรชิตในที่สุด

เนื้อหาของเรื่อง พรรณนาถึงความยิ่งใหญ่ งดงามของกระบวนทัพของอินทรชิตซึ่งแปลงตัวเป็นพระอินทร์ ช้างเอราวัณและเหล่าเทวดา

ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง ๑๖
-
๑ บทมี ๓ วรรค แบ่งเป็นวรรคแรก ๖ คำ วรรคสอง ๔ คำและวรรคสาม ๖ คำ
- ใน ๑ บท มีสัมผัสบังคับ ๑ แห่ง คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
- มีสัมผัสระหว่างบทอยู่ที่คำสุดท้ายของบทแรกกับคำสุดท้ายของวรรคแรกของบทต่อไป

แผนผัง
บทที่ ๑ 000000 0000 สัมผัสบังคับระหว่างวรรค 000000 สัมผัสระหว่างบท
บทที่ ๒ 000000 0000 สัมผัสบังคับระหว่างวรรค 000000


 

แบบฝึกหัด เรื่อง บทพากย์เอราวัญ สรุป เรื่องบทพากษ์เอราวัญ


1.ผู้แต่งคือ

2.ได้เค้าโครงเรื่องมาจากไหน

3.ความมุ่งหมายให้เห็นโทษของอะไร

4.ลักษณะคำประพันธ์

5.ช้างเอราวัญมีกี่หัว

6.ช้างเอราวัญมีกี่งา

เฉลยแบบฝึกหัด เรื่องบทพากย์เอราวัญ

1.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
2.“รามายณะของอินเดีย
3.ให้เห็นโทษของความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
4.กาพย์ฉบัง ๑๖
5.33 หัว
6.4 งา

 

พระบรมราโชวาท

 

พระบรมราโชวาท

ผู้แต่ง  : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำ : ประพันธ์ ร้อยแก้ว
ที่มาของเรื่อง  : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2428 เพื่อพระราชทานแก่ พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศครั้งทรงพระเยาว์ คือ
1)
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์)
2)
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์)
3)
กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม)
4)
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช)

ข้อคิดที่ได้รับ
1) คนเราควรอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความเพียร เพื่อนำ ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
2)
ให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย อย่ามีทิฐิมานะในทางที่ผิด
3)
รูจั้กใช้เงินอย่างคุ้มค่าโดยเฉพาะ
4)
ต้องศึกษาเล่าเรียนด้วยวิริยะอุตสาหะ
5)
ควรรักภาษาไทย เพราะภาษาไทยแสดงถึงความเป็นชาติและเอกราชของไทย


แบบฝึกหัด เรื่องพระบรมราโชวาท

๑.ผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระบรมราโชวาทคือ..................................................................................
๒.ผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระบรมราโชวาททรงได้รับพระราชสมัญญาว่า..................................................
๓.พระราชสมัญญาหมายความว่า......................................................................................................
๔.รูปแบบในการทรงพระราชนิพนธ์ พระบรมราโชวาทคือ.....................................................................
๕.สาเหตุที่รัชกาลที่ ๕ ทรงไม่ให้ราชโอรสไว้ยศว่าเป็นเจ้านายเพราะ .......................ฉะนั้น..........................

๖.อย่าใช้ ฮิสรอแยลไฮเนสปรินซ์” (His Royal Highness Princes) นำหน้าชื่อให้ใช้แต่ชื่อเดิมของตัวเองคำว่า ฮิสรอแยลไฮเนสปรินซ์หมายถึง .......................................................................................................
๗.สาเหตุที่รัชกาลที่ ๕ ทรงไม่ให้เงินแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายของพระราชโอรสเพราะ.........................................
๘.รัชกาลที่ ๕ ให้ข้อคิดแก่พระราชโอรสว่าการเกิดเป็นนายนั้นลำบากเพราะ..... ............................................
๙.รัชกาลที่ ๕ ทรงสอนให้พระราชโอรสทรงใช้เงินอย่างไร ........................................................................
๑๐.สาเหตุที่รัชกาลที่ ๕ ทรงไม่ให้พระราชโอรสนำเงินเบี้ยหวัดและเงินกลางปีมาใช้หนี้เพราะ.............................
๑๑.เงินเบี้ยหวัด หมายถึง..................................................................................................................
๑๒.เงินกลางปี หมายถึง....................................................................................................................
๑๓.รัชกาลที่ ๕ ทรงให้พระราชโอรสศึกษาภาษาต่างประเทศเพื่อ................................................................
๑๔.รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชปรารภว่า ผู้ที่เป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินนั้นจะต้องมีความประพฤติดังนี้.........................
๑๕.รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับสัตว์เดรัจฉานกับมนุษย์ว่า............................................................
๑๖.สาเหตุที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีกระแสพระราชดำรัส ให้พระเจ้าลูกยาเธอเขียนหนังสือถึงพระองค์ท่าน ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ อีกฉบับหนึ่งแปลเป็นไทยเพราะ...........................................................................
๑๗.พระบรมราโชวาทนี้ แสดงให้เห็นว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงสั่งสอนพระราชโอรสบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองคือ.............................................................................................................................................
๑๘.สาเหตุที่ รัชกาลที่ ๕ ทรงกำหนดให้พระเจ้าลูกยาเธอทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันให้ได้แม่นยำเพราะ.......................................................................................................................................
๑๙.รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับฐานะของพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ว่า กษัตริย์และราชวงศ์จะทำอะไรต้องรักษายศระวังตัวทุกอย่างเพราะ..........................................................................................................

เฉลยแบบฝึกหัด เรื่องพระบรมราโชวาท

๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒.พระปิยมหาราช
๓.กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่อันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน
๔.ร้อยแก้วเชิงเทศนา มีลักษณะเป็นจดหมายคำสั่งให้พระราชโอรสทรงปฏิบัติตนเป็นข้อ ๆ ซึ่งแต่ละข้อจะเป็นเหตุผลและคำอธิบาย
๕.ต้องการให้ไปเรียนหนังสือเท่านั้นและเป็นเจ้าต้องรักษายศศักดิ์ว่าสามัญชน ฉะนั้น การอยู่ในฐานะลูกผู้ดีทำให้ได้เสมอเจ้า แต่ไม่ต้องรักษายศศักดิ์เก่าเจ้า
๖.คำนำหน้านามพระราชโอรสและนัดดาในราชวงศ์อังกฤษ ของไทยใช้เฉพาะราชโอรส และพระเจ้าวรวงศ์เธอ
๗.มีพระโอรสหลายองค์จึงมีประสงค์ให้ทุกคนเรียนเป็นมรดกอันประเสริฐ ถ้าใช้เงินแผ่นดินไม่คุ้มก็จะเป็นที่ตำหนิได้
๘.ถ้าทำงานต่ำก็ไม่สมควรแก่ยศศักดิ์ ถ้าทำตำแหน่งใหญ่โตก็ต้องมีสติปัญญารอบรู้ ฉะนั้นจึงให้หมั่นศึกษาเล่าเรียน
๙.ให้ใช้เงินอย่างมีประโยชน์ ถ้าเป็นหนี้จะไม่ใช้ให้ ถ้าใช้ให้ก็จะต้องกลับมารับโทษ
๑๐.ควรเก็บไว้เป็นเงินทุนสร้างฐานะและครอบครัว
๑๑.เงินประจำปีสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร ซึ่งกษัตริย์พระราชทานเป็นรายเดือน
๑๒.เงินประจำปีสำหรับ พระบรมวงศานุวงศ์ให้ปีละ 2 งวด
๑๓.จะได้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิทยากรของชาติตะวันตก จะได้นำวิทยาการเหล่านั้นมาช่วยพัฒนาประเทศ
๑๔.อ่อนน้อมว่านอนสอนง่ายทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควรละเว้นความชั่วทั้งปวง
๑๕.เกิดเป็นมนุษย์ต้องหาโอกาสทำทุนแก่บ้านเมืองถ้าอยู่เฉย ๆ เอาแต่สบายก็จะไม่ผิดกับสัตว์เดรัจฉานที่เกิดมากิน ๆ นอนๆ แล้วตาย
๑๖.ประสงค์ให้ลูกศึกษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดีไม่ให้ลืมภาษาตนเองโดยเขียนภาษาอังกฤษแล้วแปลเป็นภาษาไทย
๑๗.ให้มีวิริยะ อุตสาหะ ศึกษาเล่าเรียนหาความรู้
๑๘.จะได้ใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้จากตำรายุโรป
๑๙.ประชาชนให้ความสนใจ

 

 

 

 

 

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

 





บทละครพูด เรื่อง เห็นเเก่ลูก

ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้นามแฝงว่าพระขรรค์เพชร พระองค์ทรงผูกเรื่องและทรงเรียบเรียงเอง

ประวัติผู้แต่ง :

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2423 เมื่อ พระชนมายุ 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรม ขุนเทพทวาราวดี และต่อมาทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จพระบรมเชษฐา เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคต และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักปราชญ์ (ทรงได้รับการถวายพระ ราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) และทรงเป็นจินตกวีที่ทรงเชี่ยวชาญทาง ด้านอักษรศาสตร์โบราณคดี มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วร้อยกรองทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มากกว่า 200 เรื่อง ทรงใช้นามแฝงต่างๆกัน เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ ศรีอยุธยา พันแหลม นายแก้วนายขวัญ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา

ฉาก : ห้องหนังสือ ในบ้านพระยาภักดีนฤนาถ

ตัวละคร :

นายล้ำ เป็นคนที่หน้าแก่กว่าอายุเนื่องจากตัวเองเป็นคนดื่มเหล้าจัด แท้จริงแล้วเป็นบิดาแท้ๆของแม่ลออแต่เดิมเคยรับราชการจนได้รับราชทินนามว่า ทิพเดชะ แต่ก็ต้องเข้าคุกเข้าตารางเพราะโกง เมื่อทราบข่าวว่าลูกสาวของตนซึ่งก็คือแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ จึงลงจากพิษณุโลกมาหาพระยาภักดีมีจุดประสงค์คือมาเกาะลูกกิน คือไม่มีปัญญาที่จะทำมาหากินแล้วเพราะไม่มีเงิน แต่สุดท้ายความเห็นแก่ตัวของนายล้ำก็แปรเปลี่ยนเป็น “เห็นแก่ลูก” เมื่อได้รู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของแม่ลออต่อพ่อผู้ให้กำเนิดโดยการแสดงความรักและความภาคภูมิใจถึงแม้จะไม่เคยพบหน้ากันเลยก็ตามนายล้ำได้ฟังดังนั้นจึงเกิดความละอายเลยตัดสินใจที่จะไม่บอกความจริงว่าตนเป็นพ่อแท้ๆของงแม่ลออและยอมเสียสละความสุขส่วนตนโดยที่ยอมลำบากต่อไปเพื่อให้ลูกสุขสบายและไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม

อ้ายคำ เป็นบ่าวของพระยาภักดี ซึ่งเป็นคนซึ่งสัตย์ ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รักเจ้านายมาก ฉลาดและดูคนเป็น เห็นได้จากตอนที่นายล้ำเข้ามาหาพระยาภักดีที่บ้าน อ้ายคำเล็งเห็นว่านายล้ำมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ อ้ายคำจึงยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วยแม้จะถูกบอกให้ไปที่อื่นก็ตาม

พระยาภักดีนฤนาถ เป็นเพื่อนกับนายล้ำมาแต่ก่อน และชอบผู้หญิงคนเดียวกันนั่นก็คือแม่นวลก่อนที่แม่นวลจะสิ้นใจนางก็ได้ฝากฝังลูกสาวของนาง นั่นก็คือแม่ลออไว้กับพระยาภักดี ซึ่งพระยาภักดีก็ได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจและรักแม่ลออเหมือนลูกแท้ๆ พระยาภักดีได้อบรมสั่งสอนแม่ลอออย่างตระกูลผู้ดีและปลูกฝังให้ลูกรักและภูมิใจในตัวพ่อแท้ๆ(ซึ่งก็คือนายล้ำ)พระยาภักดีจึงรับหน้าที่กลายเป็นพ่อบุญธรรมของแม่ลออไปโดยปริยาย  เมื่อนายล้ำต้องการที่จะแสดงตนว่าเป็นพ่อแท้ๆของแม่ลออพระยาภักดีก็ขัดขวางทุกวิถีทางเพราะเกรงว่าแม่ลออจะขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจเมื่อรู้ว่าพ่อตนจริงๆแล้วเป็นแบบไหน ด้วยความที่พระยาภักดีเป็นคนที่ร่ำรวยในตอนแรกจึงจ่ายเงินปิดปาก แสดงให้เห็นถึงความรักของพระยาภักดีที่มีให้กับแม่ลออแม้จะไม่ได้เป็นลูกแท้ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระยาภักดีเป็นคนที่เห็นแก่ลูกมาก

แม่ลออ กำลังจะออกเรือนเพื่อไปแต่งงานกับนายทองคำ แม่ลออเป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ และมีมารยาทงามสมกับเป็นตระกูลผู้ดี อีกทั้งยังเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีเห็นได้จากการที่คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีและสมบูรณ์แบบ (จนทำให้นายล้ำเกิดความละอายใจ)

เรื่องย่อ :

นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัด จนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อ ของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย                                                                                                      โครงเรื่อง :

.นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆ

.พระยาภักดีกลับมาบ้านและเดินเข้ามาในห้องหนังสือทำให้ได้พบนายล้ำ

๓.พระยาภักดีกับนายล้ำพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของนายล้ำ

๔.นายล้ำได้กล่าวถึงลออลูกสาวบุญธรรมของพระยาภักดี และจะขอพบลออ

๕.พระยาภักดีโกรธที่นายล้ำต้องการพบลูกสาวตนเนื่องจากไม่ต้องการที่จะให้คบค้าสมาคมกับคนที่เคยติดคุกติดตะราง

๖.นายล้ำได้พูดถึงงานแต่งงานของลออ และต้องการมาที่งาน จึงถกเถียงพระยาภักดี ทำให้ได้รู้ว่าแท้จริงแล้วลออเป็นลูกสาวแท้ๆของนายล้ำ

๗.นายล้ำได้ถกเถียงกับพระยาภักดีรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นพระยาภักดีโกรธจัดเตรียมตัวจะลงมือเพื่อทำร้ายนายล้ำ อ้ายคำได้เข้าพร้อมบอกว่าลออกำลังขึ้นเรือนมาเพื่อมาหาพระยาภักดี

๘.ลออได้เข้ามาในห้องหนังสือ ทำให้ได้พูดคุยกับนายล้ำว่าเป็นใคร รู้จักพ่อกับแม่ของตนหรือไม่ และได้ชวนให้นายล้ำมางานแต่งงานของตนที่กำลังจะจัดขึ้น   แต่นายล้ำปฏิเสธอ้างว่าต้องรีบกลับหัวเมืองพิษณุโลก แต่ลออก็คะยั้นคคะยอให้นายล้ำมางานแต่งตน และขอให้พระยาภักดีช่วยพูดให้ด้วย

๙เมื่อลออเดินออกไปจากห้องหนังสือ จากการพูดคุยกับลออทำให้นายล้ำคิดได้ว่าตนนั้นไมม่มีความดีพอให้เป็นพ่อของลออ เนื่องจากลออนั้นเป็นคนดี มีเมตตา จึงได้มอบแหวนซึ่งเป็นแหวนของแม่นวลแม่ของลออให้กับพระยาภักดีเพื่อมอบให้ลออ

๑๐.พระยาภักดีได้มอบเงินให้นายล้ำเพื่อให้นายล้ำใช้ในการดำรงชีวิต และกล่าวว่าต่อไปจะประกอบอาชีพที่เป็นธรรม

๑๑.พระยาภักดีได้หยิบรูปแม่ลออส่งให้นายล้ำ นายล้ำรับเอาไว้ จากนั้นก็เดินออกไปจากห้องหนังสือ พระยาภักดีมองนายล้ำอยู่ครู่หนึ่งก่อนเดินออกทางประตูอีกทางนึง

แก่นเรื่อง :

ความรักที่พ่อมีต่อลูกนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถนำสิ่งใดมาเปรียบได้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง :

1.ความดีความชั่วที่บุคคลได้กระทำลงไป อาจส่งผลช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆหลายประการ

2.เหตุการณ์ที่กระทบใจมนุษย์ และมีผลให้มนุษย์แปรเปลี่ยนความตั้งใจไปได้อย่างตรงกันข้ามนั้น อาจเกิดได้โดยไม่ได้คาดฝัน และโดยมิใช่เจตนาของใครทั้งสิ้น

3.ความรักและความภูมิใจที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทน ใดๆทั้งสิ้น

4.ความรักอันบริสุทธิ์ที่บุคคล 2 คนมีต่อกันนั้น จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะบุคคล 2 คน เท่านั้น แต่อาจเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

 

ความหมายของคำศัพท์ยาก :

ที่

คำศัพท์

ความหมาย

๑.

รับประทานโทษ

ได้รับโทษ

๒.

เกลอเก่า

เพื่อนเก่า

๓.

เป็นโทษ

ได้รับโทษ

๔.

หมอความ

ทนายความ

๕.

ระหาย

กระหาย

๖.

เกล้ากระผม

ผม(เรียกแทนตนเอง)

๗.

อินัง

สนใจ เอาใจใส่

๘.

สาวใหญ่

ผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้ว

๙.

ดูเกินเวลา

ไม่ทันเวลา

๑๐.

มีเหย้ามีเรือน

แต่งงานมีครอบครัว

๑๑.

ตกรก

ตกนรก

๑๒.

อาญาจักร

โทษ

๑๓.

เสมียนบาญชี

นักบัญชี

 แบบฝึกหัด บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก โดยใช้พระนามแฝงว่า

2.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระนามเดิมคือ

3. เรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดกี่องก์

4. อาญาจักร หมายถึง

5. วิธีการเขียนบทละครพูดมีวิธีการดำเนินเรื่องเหมือนงานเขียนประเภทใด

6. คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของวรรณกรรมประเภทบทละครพูดคืออะไร

7. “การละครเป็นวีธีหนึ่งแห่งการอบรมจิตใจ” เรื่องเห็นแก่ลูกให้คติสอนใจในเรื่องใด

8. เรื่องเห็นแก่ลูกให้คติสอนใจในด้านใดมากที่สุด

9. การที่อ้ายคำไม่ไว้ใจนายล้ำ เมื่อพบกันครั้งแรกเป็นเพราะเหตุใด

10. “ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะจำได้คลับคล้ายคลับคลาผู้พูดกล่าวแสดงให้รู้สึกว่า

 

 เฉลยแบบฝึกหัด !

1. พระขรรค์เพชร                 
2. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ               

3. 1 องก์                                
4. กฎหมายอาญา
5. เรื่องสั้น  

6. เรื่องสนุก บทสนทนาคมคาย         

7.ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่มีในจิตใจของผู้เป็นพ่อแม่นั่นคือความเห็นแก่ลูก       

8. ความเสียสละ                    

9. ท่าทางบุคลิกและการแต่งกายของนายล้ำ    
10. “บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น